วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มรดกของผู้ตาย

๑. มรดกได้แก่อะไรบ้าง

"มรดก" หรือ "กองมรดก" ของผู้ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ขณะตาย แต่ไม่ใช่ว่า มรดกของผู้ตายมีเพียงทรัพย์สินของผู้ตายเท่านั้น มรดกของผู้ตายยังรวมตลอดถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายซึ่งมิใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย แต่บางกรณี สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายอาจไม่ใช่มรดกก็ได้ ถ้า สิทธิ หรือหน้าที่ต่าง ๆ นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ตายที่ต้องทำเอง

สิทธิหน้าที่และความรับผิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย เช่น สิทธิหน้าที่ตามสัญญากู้ยืม ซื้อขาย จำนำ จำนองหรือการละเมิด ตัวอย่างเช่น บิดานาย ก ทำสัญญาจะขายนาให้กับ ค ต่อมา ค ได้ชำระเงินให้กับบิดานาย ก เสร็จเรียบร้อยแล้ว และระหว่างนั้นบิดานาย ก ตาย ค จึงฟ้องขอให้บังคับ ก ปฏิบัติตามสัญญาจะขายนั้น ดังนี้ศาลก็จะต้องพิพากษาให้ ก ผู้เป็นทายาทของบิดาต้องปฏิบัติตามที่นาย ค เรียกร้อง คือ ต้องไปจดทะเบียนโดยที่นาให้กับนาย ค ตามสัญญานั่นเอง

ส่วนสิทธิและหน้าที่และความรับผิดที่ไม่อาจถือว่าเป็นมรดกของผู้ตาย เพราะเป็นการเฉพาะตัวที่ผู้ตายต้องกระทำเองนั้น เช่น ก เป็นนักเขียนภาพ ข จึงไปจ้างให้นาย ก เขียนภาพตนเอง ต่อมาขณะนาย ก เขียนภาพยังไม่เสร็จ ก ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ข จะไปบังคับให้ทายาทซึ่งอาจจะเป็นลูกของนาย ก วาดภาพนั้นแทนบิดาตนเองมิได้ เพราะถือว่าการวาดภาพนั้นเป็นการเฉพาะตัวของนาย ก เองที่จะต้องใช้ฝีมือตนเองกระทำขึ้นมา แต่ถ้า ข ไปให้ลูกของนาย ก วาดภาพให้ เพราะเห็นว่าลูกของนาย ก ก็เป็นนักเขียนเช่นเดียวกัน อย่างนี้ต้องถือว่าระหว่างลูกของนาย ก และ ข ได้มีการทำสัญญาต่อกันใหม่โดยไม่ถือว่าลูกนาย ก กระทำการในฐานะทายาทของนาย ก

๒. มรดกตกทอด เมื่อใด

มรดกจะตกทอดไปยังทายาททันที เมื่อเจ้ามรดกตาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่มีข้อสังเกตว่า การตายของบุคคลนั้นในทางกฎหมายมีได้ ๒ อย่าง คือ ตายโดยธรรมชาติ และตายโดยผลของกฎหมาย

"การตายโดยผลของกฎหมาย" หรือที่เรียกว่า "สาบสูญ" คือการที่มีทายาทของบุคคลนั้นหรือพนักงานอัยการไปร้องต่อศาลว่า บุคคลนั้นได้หายสาบสูญไปจากถิ่นที่อยู่ เป็นเวลา ๕ ปี โดยไม่มีใครทราบข่าวของบุคคลนั้นเลย หรือไปอยู่ในสมรภูมิแห่งสงคราม หรือไปตกในเรืออับปาง เมื่อนับเวลาหลังจากที่หมดสงครามแล้ว นับจากเรืออับปางได้สิ้นสุดไป แล้วเป็นเวลา ๒ ปี และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไร ดังนี้ถ้าศาลสั่งว่าบุคคลนั้นเป็น "คนสาบสูญ" ด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายเช่นกัน และจะมีผลให้ "มรดก" ตกทอดไปยังทายาทเช่นเดียวกับการตายโดยธรรมชาติ

๓. ใครมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย

เมื่อบุคคลตายทรัพย์สินหรือมรดกของผู้ตายจะตกทอดได้แก่ใครนั้น กฎหมายให้
ความสำคัญกับความตั้งใจของผู้ตายเป็นหลักว่าจะยกทรัพย์สินให้แก่ใคร ถ้าผู้ตายทำพินัย
กรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใดก็จะเป็นไปตามพินัยกรรม แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมาย
กำหนดให้มรดกตกทอดได้แก่ทายาทที่เป็นลูกหรือญาติพี่น้องของผู้ตาย ดังนั้นทายาทผู้มีสิทธิได้
รับมรดกกฎหมายจึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม

๓.๑ ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายได้แก่ ญาติ และคู่สมรสคือ สามี หรือภริยาของผู้ตาย
ญาติ กฎหมายได้จัดการลำดับญาติไว้แล้ว โดยให้ญาติสนิทที่สุดมีสิทธิได้รับมรดก
เหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติสนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิได้
รับมรดกเลย ตามหลักที่ว่า ญาติสนิทพิชิตญาติห่างž สำหรับลำดับญาตินั้น กฎหมายได้กำหนด
ไว้เรียงตามลำดับความสนิทดังนี้ คือ

ลำดับที่ ๑ ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่บุตรในลักษณะใด
ลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(ก) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตรประเภทใดประเภทหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นได้จด
ทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
(๒) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียน
รับเป็นบุตรบุญธรรม
(๓) บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
จากที่บุตรได้เกิดแล้ว
(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้จดทะเบียน
สมรสกับมารดา แต่มีพฤติการณ์ที่เป”ดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็น
บุตรของตน เช่น อนุญาตให้เด็กใช้นามสกุลของคน หรือเป็นธุระพาบุตรไปฝากเข้าโรง
เรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นบุตรของคน เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีพฤติการณ์ดังเช่นว่านี้
เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดา (เจ้ามรดก) เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

ลำดับที่ ๒ บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่
ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียน
สมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดก
เป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อม
เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา
ของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

ข้อสังเกต
(๑) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม
(๒) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาทำการสมรสใหม่ หลังจากขาดจากการสมรสแล้ว
แม่เลี้ยง หรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเลี้ยง
(๓) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิ
รับมรดกของลูกเขยเช่นกัน
(๔) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มี
สิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน

ลำดับที่ ๓ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจาก
บิดามารดาเดียวกัน

ลำดับที่ ๔ พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก (หรือที่เรียก
ลูกติดพ่อลูกติดแม่)

ลำดับที่ ๕ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก
จริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงนับถือว่าเป็นญาติ

ลำดับที่ ๖ ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก หมายถึง ผู้ที่เป็นลุง ป้า น้า อา ของ
เจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่แต่เพียงเรียกว่า ลุง ป้า น้า อา


การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
(ก) การแบ่งมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีคู่สมรสในขณะตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีคู่สมรส เช่น แต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือคู่สมรส
ตายไปก่อน หรือจดทะเบียนหย่ากันแล้ว กรณีเช่นนี้ก็ต้องแบ่งมรดกกันในระหว่างญาติเท่านั้น
ในการพิจารณาว่า ทายาทประเภทญาติจะได้รับมรดกเพียงใดมีดังนี้ กฎหมายได้
ให้ทายาทในลำดับที่ ๑ กับลำดับที่ ๒ ได้รับมรดกร่วมกันก่อน ถ้าไม่มีบุคคลทั้งสองลำดับ
ทายาทในลำดับที่ ๓ จึงจะได้รับมรดก เช่น เจ้ามรดกตาย ในขณะตายเจ้ามรดกไม่มีพ่อ
ไม่มีแม่ ไม่มีลูก มีแต่พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน และมีลุงอีก ๑ คน ตามตัวอย่าง พี่น้องจึงมี
สิทธิได้รับมรดกเพียงลำดับเดียว ส่วนลุงไม่ได้ เพราะเป็นทายาทในลำดับที่ห่าง

(ข) กรณีที่มีคู่สมรสอยู่ขณะตาย
คู่สมรสของเจ้ามรดกนี้ หมายถึง สามีหรือภรรยาของเจ้ามรดกที่ได้จดทะเบียน
สมรสกันถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ฉะนั้น หากเป็นคู่สมรสของเจ้ามรดกที่เป็นแต่เพียงอยู่
กินกับเจ้ามรดกฉันสามีภรรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คู่สมรสนั้นย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเลย แต่ถ้าหากเจ้ามรดกต้องการให้คู่สมรส
ของตนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมีสิทธิได้รับมรดกของตน ก็จะต้องไปจดทะเบียนสมรสกัน
ให้ถูกต้อง หรืออาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับคู่สมรสนั้นก็ได้
คู่สมรสของเจ้ามรดกที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นก็ย่อมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก
เสมอร่วมกับทายาทประเภทญาติที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกทุกลำดับ เพียงแต่ว่าส่วน
แบ่งของคู่สมรสนั้นจะมากน้อยต่างกัน กล่าวคือ ถ้าเจ้ามรดกมีญาติในลำดับต้น ๆ คู่สมรสก็จะ
ได้ส่วนแบ่งน้อย แต่ถ้าเจ้ามรดกมีแต่ญาติ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับท้าย ๆ คู่สมรสก็
จะได้รับส่วนแบ่งมรดกมากขึ้นโดยกฎหมายไว้วางอัตราส่วนมากน้อยไว้แล้ว

การรับมรดกเทนที่
ในกรณีที่ทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ (ผู้สืบสันดาน) ลำดับที่ ๓ (พี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน กับเจ้ามรดก) ลำดับที่ ๔ (พี่น้องร่วมบิดาหรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก)
หรือลำดับที่ ๖ (ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก) ได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก หรือถูกจำกัดมิ
ให้รับมรดก (ซึ่งจะอธิบายต่อไป) โดยถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าหากทายาทในลำดับ
ดังกล่าวมีผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตอยู่ (คือ บุตรของเจ้ามรดก ซึ่งไม่ร่วมถึงบุตรบุญธรรม)
ก็ให้ผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตนั้นเข้ามารับมรดกเทนที่ได้ ถ้าผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตนั้น
ตายก่อนเจ้ามรดก หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานของผู้สืบ
สันดานนั้นรับมรดกแทนที่ต่อไปอีก จนกว่าจะหมดสายโลหิต (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา ๑๖๓๙)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น