วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มรดกของผู้ตาย

๑. มรดกได้แก่อะไรบ้าง

"มรดก" หรือ "กองมรดก" ของผู้ตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ขณะตาย แต่ไม่ใช่ว่า มรดกของผู้ตายมีเพียงทรัพย์สินของผู้ตายเท่านั้น มรดกของผู้ตายยังรวมตลอดถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายซึ่งมิใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย แต่บางกรณี สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายอาจไม่ใช่มรดกก็ได้ ถ้า สิทธิ หรือหน้าที่ต่าง ๆ นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ตายที่ต้องทำเอง

สิทธิหน้าที่และความรับผิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย เช่น สิทธิหน้าที่ตามสัญญากู้ยืม ซื้อขาย จำนำ จำนองหรือการละเมิด ตัวอย่างเช่น บิดานาย ก ทำสัญญาจะขายนาให้กับ ค ต่อมา ค ได้ชำระเงินให้กับบิดานาย ก เสร็จเรียบร้อยแล้ว และระหว่างนั้นบิดานาย ก ตาย ค จึงฟ้องขอให้บังคับ ก ปฏิบัติตามสัญญาจะขายนั้น ดังนี้ศาลก็จะต้องพิพากษาให้ ก ผู้เป็นทายาทของบิดาต้องปฏิบัติตามที่นาย ค เรียกร้อง คือ ต้องไปจดทะเบียนโดยที่นาให้กับนาย ค ตามสัญญานั่นเอง

ส่วนสิทธิและหน้าที่และความรับผิดที่ไม่อาจถือว่าเป็นมรดกของผู้ตาย เพราะเป็นการเฉพาะตัวที่ผู้ตายต้องกระทำเองนั้น เช่น ก เป็นนักเขียนภาพ ข จึงไปจ้างให้นาย ก เขียนภาพตนเอง ต่อมาขณะนาย ก เขียนภาพยังไม่เสร็จ ก ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ข จะไปบังคับให้ทายาทซึ่งอาจจะเป็นลูกของนาย ก วาดภาพนั้นแทนบิดาตนเองมิได้ เพราะถือว่าการวาดภาพนั้นเป็นการเฉพาะตัวของนาย ก เองที่จะต้องใช้ฝีมือตนเองกระทำขึ้นมา แต่ถ้า ข ไปให้ลูกของนาย ก วาดภาพให้ เพราะเห็นว่าลูกของนาย ก ก็เป็นนักเขียนเช่นเดียวกัน อย่างนี้ต้องถือว่าระหว่างลูกของนาย ก และ ข ได้มีการทำสัญญาต่อกันใหม่โดยไม่ถือว่าลูกนาย ก กระทำการในฐานะทายาทของนาย ก

๒. มรดกตกทอด เมื่อใด

มรดกจะตกทอดไปยังทายาททันที เมื่อเจ้ามรดกตาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่มีข้อสังเกตว่า การตายของบุคคลนั้นในทางกฎหมายมีได้ ๒ อย่าง คือ ตายโดยธรรมชาติ และตายโดยผลของกฎหมาย

"การตายโดยผลของกฎหมาย" หรือที่เรียกว่า "สาบสูญ" คือการที่มีทายาทของบุคคลนั้นหรือพนักงานอัยการไปร้องต่อศาลว่า บุคคลนั้นได้หายสาบสูญไปจากถิ่นที่อยู่ เป็นเวลา ๕ ปี โดยไม่มีใครทราบข่าวของบุคคลนั้นเลย หรือไปอยู่ในสมรภูมิแห่งสงคราม หรือไปตกในเรืออับปาง เมื่อนับเวลาหลังจากที่หมดสงครามแล้ว นับจากเรืออับปางได้สิ้นสุดไป แล้วเป็นเวลา ๒ ปี และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นอยู่ที่ไหนเป็นตายร้ายดีอย่างไร ดังนี้ถ้าศาลสั่งว่าบุคคลนั้นเป็น "คนสาบสูญ" ด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว ก็ต้องถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายเช่นกัน และจะมีผลให้ "มรดก" ตกทอดไปยังทายาทเช่นเดียวกับการตายโดยธรรมชาติ

๓. ใครมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย

เมื่อบุคคลตายทรัพย์สินหรือมรดกของผู้ตายจะตกทอดได้แก่ใครนั้น กฎหมายให้
ความสำคัญกับความตั้งใจของผู้ตายเป็นหลักว่าจะยกทรัพย์สินให้แก่ใคร ถ้าผู้ตายทำพินัย
กรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใดก็จะเป็นไปตามพินัยกรรม แต่ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมาย
กำหนดให้มรดกตกทอดได้แก่ทายาทที่เป็นลูกหรือญาติพี่น้องของผู้ตาย ดังนั้นทายาทผู้มีสิทธิได้
รับมรดกกฎหมายจึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรม

๓.๑ ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายได้แก่ ญาติ และคู่สมรสคือ สามี หรือภริยาของผู้ตาย
ญาติ กฎหมายได้จัดการลำดับญาติไว้แล้ว โดยให้ญาติสนิทที่สุดมีสิทธิได้รับมรดก
เหนือกว่าญาติที่ห่างออกไป หากญาติสนิทที่สุดยังมีชีวิตอยู่ ญาติที่สนิทน้อยลงไปจะไม่มีสิทธิได้
รับมรดกเลย ตามหลักที่ว่า ญาติสนิทพิชิตญาติห่างž สำหรับลำดับญาตินั้น กฎหมายได้กำหนด
ไว้เรียงตามลำดับความสนิทดังนี้ คือ

ลำดับที่ ๑ ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่บุตรในลักษณะใด
ลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(ก) บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตรประเภทใดประเภทหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดานั้นได้จด
ทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
(๒) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้จดทะเบียน
รับเป็นบุตรบุญธรรม
(๓) บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
จากที่บุตรได้เกิดแล้ว
(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้จดทะเบียน
สมรสกับมารดา แต่มีพฤติการณ์ที่เป”ดเผยบางอย่างของบิดาที่เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็น
บุตรของตน เช่น อนุญาตให้เด็กใช้นามสกุลของคน หรือเป็นธุระพาบุตรไปฝากเข้าโรง
เรียน หรือใครถามก็บอกว่าเป็นบุตรของคน เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีพฤติการณ์ดังเช่นว่านี้
เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกของบิดา (เจ้ามรดก) เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

ลำดับที่ ๒ บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้องเป็นบิดาที่
ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียน
สมรสกับมารดาของเจ้ามรดก) แม้ว่าจะได้มีพฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดก
เป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อม
เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา
ของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม

ข้อสังเกต
(๑) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม
(๒) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาทำการสมรสใหม่ หลังจากขาดจากการสมรสแล้ว
แม่เลี้ยง หรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเลี้ยง
(๓) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิ
รับมรดกของลูกเขยเช่นกัน
(๔) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มี
สิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน

ลำดับที่ ๓ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก คือ พี่น้องเจ้ามรดกที่เกิดจาก
บิดามารดาเดียวกัน

ลำดับที่ ๔ พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก (หรือที่เรียก
ลูกติดพ่อลูกติดแม่)

ลำดับที่ ๕ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หมายถึง ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก
จริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงนับถือว่าเป็นญาติ

ลำดับที่ ๖ ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก หมายถึง ผู้ที่เป็นลุง ป้า น้า อา ของ
เจ้ามรดกจริง ๆ ไม่ใช่แต่เพียงเรียกว่า ลุง ป้า น้า อา


การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
(ก) การแบ่งมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีคู่สมรสในขณะตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีคู่สมรส เช่น แต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือคู่สมรส
ตายไปก่อน หรือจดทะเบียนหย่ากันแล้ว กรณีเช่นนี้ก็ต้องแบ่งมรดกกันในระหว่างญาติเท่านั้น
ในการพิจารณาว่า ทายาทประเภทญาติจะได้รับมรดกเพียงใดมีดังนี้ กฎหมายได้
ให้ทายาทในลำดับที่ ๑ กับลำดับที่ ๒ ได้รับมรดกร่วมกันก่อน ถ้าไม่มีบุคคลทั้งสองลำดับ
ทายาทในลำดับที่ ๓ จึงจะได้รับมรดก เช่น เจ้ามรดกตาย ในขณะตายเจ้ามรดกไม่มีพ่อ
ไม่มีแม่ ไม่มีลูก มีแต่พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน และมีลุงอีก ๑ คน ตามตัวอย่าง พี่น้องจึงมี
สิทธิได้รับมรดกเพียงลำดับเดียว ส่วนลุงไม่ได้ เพราะเป็นทายาทในลำดับที่ห่าง

(ข) กรณีที่มีคู่สมรสอยู่ขณะตาย
คู่สมรสของเจ้ามรดกนี้ หมายถึง สามีหรือภรรยาของเจ้ามรดกที่ได้จดทะเบียน
สมรสกันถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ฉะนั้น หากเป็นคู่สมรสของเจ้ามรดกที่เป็นแต่เพียงอยู่
กินกับเจ้ามรดกฉันสามีภรรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คู่สมรสนั้นย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเลย แต่ถ้าหากเจ้ามรดกต้องการให้คู่สมรส
ของตนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมีสิทธิได้รับมรดกของตน ก็จะต้องไปจดทะเบียนสมรสกัน
ให้ถูกต้อง หรืออาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับคู่สมรสนั้นก็ได้
คู่สมรสของเจ้ามรดกที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นก็ย่อมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก
เสมอร่วมกับทายาทประเภทญาติที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกทุกลำดับ เพียงแต่ว่าส่วน
แบ่งของคู่สมรสนั้นจะมากน้อยต่างกัน กล่าวคือ ถ้าเจ้ามรดกมีญาติในลำดับต้น ๆ คู่สมรสก็จะ
ได้ส่วนแบ่งน้อย แต่ถ้าเจ้ามรดกมีแต่ญาติ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับท้าย ๆ คู่สมรสก็
จะได้รับส่วนแบ่งมรดกมากขึ้นโดยกฎหมายไว้วางอัตราส่วนมากน้อยไว้แล้ว

การรับมรดกเทนที่
ในกรณีที่ทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ (ผู้สืบสันดาน) ลำดับที่ ๓ (พี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน กับเจ้ามรดก) ลำดับที่ ๔ (พี่น้องร่วมบิดาหรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก)
หรือลำดับที่ ๖ (ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก) ได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก หรือถูกจำกัดมิ
ให้รับมรดก (ซึ่งจะอธิบายต่อไป) โดยถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าหากทายาทในลำดับ
ดังกล่าวมีผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตอยู่ (คือ บุตรของเจ้ามรดก ซึ่งไม่ร่วมถึงบุตรบุญธรรม)
ก็ให้ผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตนั้นเข้ามารับมรดกเทนที่ได้ ถ้าผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตนั้น
ตายก่อนเจ้ามรดก หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานของผู้สืบ
สันดานนั้นรับมรดกแทนที่ต่อไปอีก จนกว่าจะหมดสายโลหิต (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา ๑๖๓๙)

ภาพยนต์เรื่อง"Happy Birthday"


"ของขวัญที่สำคัญที่สุดของคุณคืออะไร? สำหรับเขา…คือ…เธอ"

เรื่องราวความรักของชายหนุ่ม "เต็น" และหญิงสาว "เภา" ที่บุพเพนำพาให้ทั้งสองมาพบรักกัน โดยมีหนังสือท่องเที่ยวเป็นสื่อกลาง หนังสือเล่มที่เต็มไปด้วยข้อความที่ถูกเขียนส่งต่อให้กันและกัน โดยที่ทั้งสองยังไม่เคยพบหน้ากัน

จนเมื่อได้พบกันโดยบังเอิญ ความคุ้นเคยและสนิทสนมที่เคยผ่านตัวหนังสือมาแล้ว ก่อเกิดขึ้นกลายเป็นความรัก พร้อมถ้อยคำมั่นสัญญาว่าพวกเขาจะไม่ทอดทิ้งกันตราบนิรันดร์………….

โดยความคิดเห็นส่วนตัวหากเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับในกรณีดังกล่าว...ดิฉันเชื่อว่า หลายๆๆคนคงเลือกที่จะรั้งลมหายใจของคนที่เรารักไว้ และพร้อมจะอยู่เคียวข้างต่อไป

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

สินสอดทองหมั้นคืออะไร และใครเป็นผู้มีสิทธิ/กฎหมายควรรู้


เมื่อกล่าวถึงสินสอดและทองหมั้นทุกท่านคงคิดและเข้าใ จไปในทางเดียวกันก็คือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีไทยไม่ว่าจะเป็น เหนือ อีสาน กลาง ใต้ ออก ตก ก็มีธรรเนียมประเพณีแตกต่างกันไป แต่ยังคงไว้ซึ่งจุดมุ่งหมายอันเดียวกันนั่นคือคำมั่น สัญญาของชายและหญิงว่าจะสมรสอยู่กินกันฉันสามีภรรยาต ่อไป ไม่ว่าตามจารีตประเพณีจะเป็นเช่นไร แต่หากเกิดกรณีพิพาทกันขึ้นในเรื่องสินสอดและทองหมั้ น ทรัพย์สินต่างๆที่ให้ไว้แก่กันนั้นจะเป็นสินสอดและขอ งหมั้นที่กฎหมายให้ความคุ้มครองหรือไม่ หรือใครจะเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นก็ต้องนำหลัก กฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ลักษณะ ๑ หมวด ๑ การหมั้น) มาใช้ในการวินิจฉัย

ของหมั้น ตามกฎหมายต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นแก้ว แหวน เงินทอง รถยนต์ ไปจนถึงบ้าน คอนโด ที่ดิน และยังรวมไปถึงสิทธิต่างๆที่ตีมูลค่าเป็นเงินได้ก็เป ็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่เป็นของหมั้นได้

2. ของหมั้นต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้แก่ตัวหญิงเ อง และหญิงได้รับของสิ่งนั้นไว้เอง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ หญิงให้แก่ชาย หรือ หญิงให้แก่หญิง หรือ ชายให้กับชาย ในทางกฎหมายไม่อาจถือว่าของสิ่งนั้นเป็นของหมั้นแม้ผ ู้ให้และผู้รับเจตนาที่จะให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นของ หมั้นก็ตาม แต่ถือเป็นเพียงการให้โดยสเน่หาอย่างหนึ่งเท่านั้น

3. ของหมั้นต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงในวันหมั้นโดยหญ ิงได้รับไว้หรือรับโอนทางทะเบียนในกรณีที่ของหมั้นเป ็นทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น หากเป็นเป็นเพียงสัญญาจะให้แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอน ให้กันจริงในวันหมั้นทรัพย์สินเหล่านั้นไม่ถือเป็นขอ งหมั้นตามกฎหมายและหญิงไม่อาจฟ้องเรียกให้ส่งมอบในภา ยหลังได้

4. ของหมั้นนั้นฝ่ายชายต้องให้แก่หญิงโดยมีเจตนาที่จะให ้ของหมั้นนั้นเป็นหลักฐานว่าจะสมรสหญิงต่อไปซึ่งต้อง มีเจตนาไปถึงขั้นที่ว่าจะจดทะเบียนสมรสด้วย มิใช่ประสงค์แต่เพียงจะจัดงานสมรสขึ้นในภายหลังเท่าน ั้น ทั้งของหมั้นนี้ต้องได้ให้ไว้ก่อนการจดทะเบียนสมรสด้ วยมิเช่นนั้นแล้วของสิ่งนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นของหมั้น เป็นแต่เพียงการให้โดยสเน่หา

หากของสิ่งใดเข้าลักษณะเป็นของหมั้นดังกล่าวแล้วของส ิ่งนั้นก็จะตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีซึ่งฝ่ายชายอาจเร ียกคืนได้เฉพาะในกรณีที่หญิงผิดสัญญาไม่สมรสด้วยเท่า นั้น

ส่วนสินสอดนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินเช่นเดียวกับของหมั้น

2. สินสอดต้องเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมิได้ให้แก่ตัวหญิงเองอย่างของห มั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งไปที่ตัวพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิง หากหญิงไม่มีตัวบุคคลดังกล่าวอยู่แล้วแม้จะมีการตกลง กันให้มอบทรัพย์สินนั้นแก่หญิงเองก็ไม่ทำให้ทรัพย์สิ นนั้นเป็นสินสอดไปได้ และสินสอดที่ตกลงให้กันนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งมอบใ ห้แก่ฝ่ายหญิงทันทีอย่างของหมั้นเพียงแต่ตกลงที่จะให ้หรือจะนำมาให้ภายหลังก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ทรัพย์ สินดังกล่าวเป็นสินสอดที่ทำให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร ้องได้

3. สินสอดต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิง ยอมสมรสด้วยซึ่งต้องกินความถึงขนาดที่จะต้องมีการจดท ะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย แต่ไม่ใช่การให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงที่ให้ความยินยอมในกรณีที่หญิงยังเป ็นผู้เยาว์

สินสอดเมื่อให้แล้วจะตกเป็นสิทธิของพ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงทันทีแม้ชายหญิงจะยังไม่ได้จดทะเบีย นสมรสกันก็ตามเพียงแต่ฝ่ายชายอาจเรียกสินสอดคืนได้ถ้ าการสมรสไม่มีขึ้นเพราะตัวหญิงเองเป็นต้นเหตุ หรือเป็นเหตุที่ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เป็นเหตุให้ไม่มีการสมรสขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามชายหญิงจะทำการหมั้น หรือการสมรสกันโดยไม่มีสินสอดก็ได้ เพียงแต่ว่าหากมีการตกลงให้สินสอดกันแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองของหญิงเท่านั้นมีสิทธิเรีนกเอาสินสอดดังกล ่าวได้

จากลักษณะสำคัญของทั้งสินสอดและของหมั้นดังกล่าวจะทำ ให้สามารถเห็นภาพของสินสอดและทองหมั้น (ของหมั้น) ในทางกฎหมายได้ดียิ่งขึ้นมากกว่าความเข้าใจในแบบจารี ตประเพณีทั่วไป ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดสิทธิตามสัญญาหมั้น แก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่จะเรียกร้องหรือเรียกคืนสิน สอดและของหมั้นระหว่างกันได้เท่านั้น แต่การทำสัญญาหมั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสมรสว่าจ ะต้องมีการหมั้นก่อนแต่ประการใดแม้ว่าการให้ของหมั้น นั้นจะเป็นการให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกัน หรือการให้สินสอด ที่เป็นการให้ไว้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยินยอมสมรสก็ไ ม่ได้หมายความว่าหากมีการผิดสัญญาคือไม่มีการสมรสเกิ ดขึ้นแล้วจะมีใครไปบังคับให้ชายหญิงต้องสมรสกันได้ ซึ่งหากมีการบังคับกันจริงการสมรสนั้นก็ไม่สมบูรณ์ตา มกฎหมายเพราะการสมรสจะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้ชายหญิงต ้องยินยอมเป็นสามีภรรยากันเท่านั้น ดังนั้นความยินยอมในทางกฎหมายหรือความรักตามหลักความ เป็นจริงจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สอดคล้องกันอันจะทำ ให้การสมรสของชายและหญิงเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายลักษณะยืม

กฎหมายลักษณะยืม

สัญญายืม มีลักษณะทั่วไปที่สำคัญดังนี้
1. เป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง
2. เป็นสัญญา “ไม่” ต่างตอบแทน
3. เป็นสัญญาที่บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม
4. เป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน
สัญญายืม ตาม ปพพ. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ยืมใช้คงรูป
- ยืมใช้สิ้นเปลือง

ยืมใช้คงรูป

วางหลักไว้ว่า “ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืม ให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

สัญญายืมใช้คงรูป นอกจากมีลักษณะทั่วไปของสัญญายืมแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะ ดังนี้

(1) เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน
- จึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยถือตัวบุคคลผู้ยืมเป็นสำคัญ (เมื่อผู้ยืมตาย สัญญาระงับ ตาม ม.648)
- เพราะไม่มีค่าตอบแทน จึงต้องกำหนดหน้าที่ของผู้ยืมไว้หลายประการ

(2) เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์
- ผู้ให้ยืมอาจไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน หรือเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืม
- หากทรัพย์สินที่ให้ยืมสูญหายหรือบุบสลายไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด
ดังนั้น อธิบายหลักกฎหมายได้ ดังนี้

- เกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ยืมและผู้ให้ยืม
- ผู้ให้ยืม “ตกลง” ให้ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ให้ยืม (กรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอน)
- เป็นการให้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นแบบได้เปล่า กล่าวคือไม่ต้องเสียค่าตอบแทน
- ผู้ยืม “ตกลง” จะส่งทรัพย์สินที่ยืมนั้นคืนเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว
- สัญญาจะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

ด้วยเหตุที่เป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน สัญญายืมใช้คงรูปจึงก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่หลายประการแก่บุคคลทั้ง 2 ฝ่าย ดังนี้คือ
1. หน้าที่ของ “ผู้ยืม” ใช้คงรูป
(1) หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น
- ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม
- ต้องเสียค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืม

(2) หน้าที่ในการใช้ทรัพย์สินที่ยืม กล่าวคือ
- ต้องใช้ทรัพย์สินที่ยืมมานั้นอย่างปกติที่วิญญูชนพึงใช้กัน
- ต้องใช้ทรัพย์สินที่ยืมมานั้นด้วยตนเอง จะเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ไม่ได้
- ต้องไม่ใช้ทรัพย์สินที่ยืมนานั้นนานกว่าที่ควร
- ต้องรับผิดเมื่อทรัพย์สินที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย เว้นแต่จะไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม

(3) หน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม กล่าวคือ ผู้ยืมต้องสงวนทรัพย์สินที่ยืมเสมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน…..เพราะสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมยังไม่ได้โอนไปยังผู้ยืม

(4) หน้าที่ในการคืนทรัพย์สินที่ยืม ตอนท้าย

2. หน้าที่ของ “ผู้ให้ยืม” ใช้คงรูป
(1) ต้องบอกกล่าวให้ผู้ยืมทราบ ถ้าทรัพย์สินที่ให้ยืมมีรายการชำรุดบกพร่องหรือบุบสลาย
(2) ต้องไม่ขัดขวางผู้ยืมในการใช้สอยทรัพย์สินตามสัญญา
(3) ต้องรับผลแห่งภัยพิบัติในทรัพย์สินที่ให้ยืม หากเกิดบุบสลายหรือสูญหายไปเนื่องมาจากการใช้โดยปกติสุข และไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม
(4) ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการรักษาทรัพย์สินที่ให้ยืม ซึ่งมิใช่เป็นการบำรุงรักษาตามปกติ
สัญญายืมใช้คงรูปอาจ “ระงับไป” ในกรณีต่อไปนี้
- เมื่อมีการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ตาม ม.640 ตอนท้าย
- เมื่อผู้ให้ยืมใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
- เมื่อสัญญามิได้กำหนดเวลากันไว้ และเวลาได้ล่วงไปพอสมควร ผู้ให้ยืมใช้สิทธิบอกเลิก
สัญญา - เมื่อผู้ยืมตาย เพราะเป็นสัญญาที่ถือตัวผู้ยืมเป็นสำคัญ ……….(กรณีกลับกัน ถ้าผู้ให้
ยืมตาย สัญญายืมไม่ระงับ)
- เมื่อทรัพย์สินที่ยืมอันเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมสูญสิ้นไป

สัญญายืมใช้คงรูป มีประเด็นน่าสนใจที่เกี่ยวกับ “อายุความ” ดังนี้

1. กรณีผู้ให้ยืมฟ้องร้อง “เรียกเอาทรัพย์สิน” ตามสัญญา เกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ
(1) ผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืม และใช้สิทธิ ติดตามและ
เรียกเอาทรัพย์สินของตนคืน ……ด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีกำหนดอายุความ
(2) กรณีผู้ให้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืม หรือเป็นเจ้าของแต่ได้อาศัยสิทธิ
ตามสัญญายืมใช้คงรูป ……ใช้หลักอายุความทั่วไป คือ อายุความ 10 ปี
2. กรณีผู้ให้ยืมฟ้องร้อง “เรียกค่าทดแทน” ตามสัญญา …กำหนดอายุความไว้ 6 เดือน นับ
แต่วันสิ้นสัญญา

ยืมใช้สิ้นเปลือง
เพื่อความเข้าใจในเรื่องยืมใช้สิ้นเปลืองให้กระจ่างขึ้น ควรบทบัญญัติออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. การยืมทรัพย์ ได้แก่
1.1 ยืมทรัพย์ (บททั่วไป)
1.2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืม / ผู้ให้ยืม
2. การกู้ยืมเงิน ได้แก่
2.1 ยืมเงิน
2.2 ดอกเบี้ยเงินกู้
2.3 ดอกเบี้ยทบต้น
2.4 กู้ยืมเงิน แต่ยอมรับเอาของทรัพย์สินแทนเงิน


1. การยืมทรัพย์
1.1 ยืมทรัพย์ (บททั่วไป)
ม.650 วางหลักไว้ว่า “ยืมใช้สิ้นเปลือง คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกำหนดให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น ทั้งนี้จะบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมนั้น”
สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ตาม ม.650 นอกจากมีลักษณะทั่วไปของสัญญายืม 4 ประการแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะ ดังนี้
(1) อาจเป็นสัญญามีค่าตอบแทนก็ได้
- จึงเป็นสัญญาที่ใกล้เคียงกับสัญญาเช่าทรัพย์ แต่ต่างกันที่สัญญาเช่าทรัพย์ไม่มีการโอน
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า
- แม้มีค่าตอบแทนเกิดขึ้น ก็ไม่ทำให้กลายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
(2) เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม
- ผู้ให้ยืมต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้น
- ผู้ยืมจะใช้สอยทรัพย์สินนั้นอย่างไรก็ได้
- หากทรัพย์สินที่ให้ยืมสูญหายหรือบุบสลายไป ผู้ยืมต้องรับผิด
- การคืนทรัพย์สินที่ยืม ต้องคืนทั้งประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันแทน
หลักกฎหมาย – เป็นสัญญาที่เกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ยืมและผู้ให้ยืม
- ผู้ให้ยืม “โอนกรรมสิทธิ์” ในทรัพย์สินให้ผู้ยืมแล้ว
- ทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้น มีจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน
- เป็นทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป หรือทรัพย์สินชนิดใช้สิ้นเปลือง
- ผู้ยืมตกลงจะส่งทรัพย์สินคืนทั้ง “ประเภท ชนิด และปริมาณ” เดียวกันแทน
- สัญญาจะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

1.2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืม / ผู้ให้ยืม
ม.651 วางหลักเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ยืมไว้ว่า “ผู้ยืมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญา ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม”

ม.652 วางหลักเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ให้ยืมไว้ว่า “ถ้าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินที่ให้ยืม ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร โดยกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น”

จากบทบัญญัติทั้ง 2 มาตรา ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืม ดังนี้
(1) สิทธิของ “ผู้ยืม” ใช้สิ้นเปลือง ได้แก่
- สิทธิใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมโดยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ตาม ม.1336
- สิทธิต้องรับผลพิบัติ หากทรัพย์สินที่ยืมเกิดความสูญหายหรือบุบสลาย
(2) หน้าที่ของ “ผู้ยืม” ใช้สิ้นเปลือง ได้แก่
- หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่าย ตาม ม.651
- หน้าที่ในการส่งคืนทรัพย์สินเมื่อครบกำหนดเวลาที่ยืม ตาม ม.652
(3) สิทธิของ “ผู้ให้ยืม” ใช้สิ้นเปลือง
- สิทธิในการเรียกคืนทรัพย์สินที่ให้ยืม
- สิทธิในการเรียกใช้ราคาทรัพย์สินที่ให้ยืม (กรณีทรัพย์สินที่ให้ยืมสูญหาย)
- สิทธิเรียกค่าเสียหาย (กรณีทรัพย์สินที่ให้ยืมบุบสลาย)
(4) หน้าที่ของ “ผู้ให้ยืม” ใช้สิ้นเปลือง
- ไม่ขัดขวางผู้ยืมในการใช้ทรัพย์สินที่ให้ยืม
- ต้องบอกกล่าวให้ผู้ยืมได้ทราบถึงความบุบสลายหรืออันตรายแห่งทรัพย์สินที่ให้ยืม

2. การกู้ยืมเงิน
2.1 ยืมเงิน
ม.653 ว.1 วางหลักไว้ว่า “การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้”
หลักกฎหมาย – กฎหมายแก้ไขวงเงินจากเดิม 50 บาท เป็น 2,000 บาท
- การกู้ยืมเงินไม่ว่าจะจำนวนเท่าใด จะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีก็ได้
- แต่การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท (ไม่รวม 2,000 บาท) ถ้าไม่มีหลักฐานเป็น
หนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้
- หลักฐานเป็นหนังสือไม่ใช่แบบ แต่อาจเป็นหลักฐานอะไรก็ได้ เช่น จดหมาย
บันทึกการเป็นหนี้ รายงานการประชุม ฯลฯ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีข้อความแสดง
การเป็นหนี้สินและลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญก็เพียงพอแล้ว
- การกู้ยืมเงินไม่เกิน 2,000 บาท ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกัน
ได้ โดยสามารถนำสืบพยานบุคคลได้

ม.653 ว.2 วางหลักไว้ว่า “การกู้เงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมี
หลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”
หลักกฎหมาย – การกู้ยืมเงินตามความหมายในวรรคนี้ ไม่คำนึงว่าจะวงเงินกู้จะเป็นจำนวนเท่าใด
จะน้อยกว่าหรือมากกว่า 2,000 บาทก็ได้
- แต่เงื่อนไขสำคัญคือ เมื่อใดที่การกู้เงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำสืบการใช้
เงินแก่ผู้ให้ยืมก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยเช่นกัน
- หลักฐานเป็นหนังสือเหล่านี้ ได้แก่
* เอกสารใดๆ ที่ลงลายมือชื่อของผู้ให้ยืมเป็นสำคัญ …..เช่น ใบเสร็จรับเงิน
จดหมาย บันทึกใดๆ ฯลฯ
* สัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ให้กู้ส่งคืนให้ผู้ยืม …..การส่งคืนต้องเป็นเจตนาของผู้ให้ยืม
* การบันทึกการชำระหนี้ลงในสัญญากู้ยืมเงิน ……ผู้ให้ยืมเป็นผู้แทงเพิกถอน
- เนื่องจากเป็นการนำสืบ “การใช้เงิน” ชำระหนี้ให้แก่ผู้ให้ยืม จึงไม่สามารถนำไป
ใช้บังคับตาม ม.656 ว.2 ซึ่งเป็นกรณีการชำระหนี้ด้วยสิ่งของหรือทรัพย์สิน
- กรณีการชำระหนี้ด้วยสิ่งของหรือทรัพย์สินแทนเงินนั้น ถ้าหากผู้ให้กู้ยอมรับการ
ชำระหนี้ด้วยสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นแทนเงิน ก็ย่อมกระทำได้ตาม ม.321

2.2 ดอกเบี้ยเงินกู้
ม.654 วางหลักไว้ว่า “ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ย
เกินกว่านั้น ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”
หลักกฎหมาย – กรณีที่สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ ให้คิดอัตราดอกเบี้ย
ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ม.7
- กรณีที่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดเพียงว่า ให้เรียกดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ให้คิด
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ม.7
- กรณีที่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ ให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน
ร้อยละ 15 ต่อปี
- กรณีที่สัญญากู้ยืมเงินได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ย
เป็นโมฆะทั้งหมด และต้องลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี
- ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะเพราะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ให้กู้
ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญา
- การคิดดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีนั้น มีเฉพาะในการกู้ยืม
เงินระหว่างเอกชนกับเอกชน
2.3 ดอกเบี้ยทบต้น
ม.655 วางหลักไว้ว่า “ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ เว้นแต่ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง และคู่สัญญากู้ยืมตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงิน ให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แต่การตกลงนั้นต้องทำเป็นหนังสือ
กรณีมีประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดก็ดี หรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกับบัญชีเดินสะพัดก็ดี ไม่ได้อยู่ในบังคับในวรรคหนึ่ง”
หลักกฎหมาย – ถ้าดอกเบี้ยค้างชำระยังไม่เกิน 1 ปี ห้ามนำมาคิดดอกเบี้ยทบต้น
- ถ้าดอกเบี้ยค้างชำระนานเกินกว่า 1 ปี ให้นำมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ แต่ต้อง
* คู่สัญญาต้องตกลงกันก่อนว่า ให้นำมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
* ข้อตกลงนั้น ต้องทำเป็นหนังสือ
- กรณีตามวรรค 2 กฎหมายให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้
5. กู้ยืมเงิน แต่ยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนเงิน
กรณียืมเงินแต่ยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนเงินนั้น หมายความว่า เจตนาแรกของผู้กู้ยืมต้องการยืมเงิน แต่ปรากฏว่ามีการส่งมอบทรัพย์สินหรือสิ่งของอื่นแทนเงิน ซึ่ง ม.656 ได้วางหลักไว้ 2 กรณี คือ
(1) เจตนายืมเงินและได้ทำสัญญายืมเงิน แต่ผู้กู้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนเงิน

(2) เจตนายืมเงินและได้รับเงินยืมไปแล้ว แต่ผู้ให้กู้ยืมยอมรับคืนทรัพย์สินอื่นแทนเงิน

ม.656 ว.1 วางหลักไว้ว่า “ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินนั้น ให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระโดยจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ”
หลักกฎหมาย – เจตนาเริ่มแรกต้องการกู้ยืมเงิน จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกัน
- ผู้ให้กู้เสนอขอส่งมอบสิ่งของหรือทรัพย์สินแทนเงิน
- ผู้กู้ยอมรับข้อเสนอเช่นนั้นของผู้ให้กู้
- การใช้หนี้ ให้คิดเป็นหนี้เงินตามราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้น
- ต้องเป็นราคาท้องตลาดในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบ
- ถ้าการชำระหนี้ผิดไปจากเงื่อนไขดังกล่าว ย่อมเป็นโมฆะ

ม.656 ว.2 วางหลักไว้ว่า “ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม หนี้เป็นอันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับ
ราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ”
หลักกฎหมาย – เจตนาเริ่มแรกต้องการกู้ยืมเงิน จึงตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกัน
- ผู้กู้รับมอบเงินจำนวนตามสัญญาจากผู้ให้กู้ไปแล้ว
- เมื่อถึงกำหนดชำระ ผู้กู้เสนอขอส่งมอบสิ่งของหรือทรัพย์สินแทนเงิน
- ผู้ให้กู้ยอมรับข้อเสนอเช่นนั้นของผู้กู้
- การใช้หนี้ ให้คิดเป็นจำนวนสิ่งของหรือทรัพย์สินตามราคาท้องตลาด
- ต้องเป็นราคาท้องตลาดในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบ
- ถ้าการชำระหนี้ผิดไปจากเงื่อนไขดังกล่าว ย่อมเป็นโมฆะ

ม.656 ว.3 วางหลักไว้ว่า “ความตกลงใดๆ ที่ขัดกับข้อความในวรรคก่อน เป็นโมฆะ”
(1) เป็นโมฆะเฉพาะข้อความนั้นๆ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ
(2) ตัวอย่างข้อความที่เป็นโมฆะ
- ข้อตกลงว่า ถ้าผู้กู้ไม่นำต้นเงินและดอกเบี้ยมาชำระตามสัญญา ผู้กู้ยอมโอนที่นาแปลงนี้
ให้แก่ผู้ให้กู้เป็นกรรมสิทธิ์

- ข้อตกลงว่า เมื่อผู้กู้ไม่ใช้เงิน ต้องโอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้ให้กู้โดยไม่คำนึงถึงว่า สิทธิ
แห่งการเช่านั้นมีราคาเท่าใดในท้องตลาดในเวลาส่งมอบ

- ข้อสัญญาว่า ถ้าไม่ใช้เงินกู้คืน ผู้กู้ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่นานั้นให้

สัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง มีข้อเหมือนกันหรือข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?
1. ข้อเหมือนกัน
(1) มีคู่กรณี 2 ฝ่าย คือ ผู้ยืมและผู้ให้ยืม
(2) ผู้ให้ยืมต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ยืมใช้
(3) ผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินเมื่อให้สอยเสร็จแล้ว

2. ข้อแตกต่าง
(1) ยืมใช้คงรูปนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่โอน …..แต่ยืมใช้สิ้นเปลือง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ยืมแล้ว
(2) ยืมใช้คงรูป ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่าหรือไม่เสียค่าตอบแทน ……แต่ยืมใช้สิ้นเปลือง ผู้ยืมอาจใช้สอยทรัพย์สินโดยเสียค่าตอบแทน
(3) ยืมใช้คงรูป ผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ……แต่ยืมใช้สิ้นเปลือง ผู้ยืมไม่ต้องส่งคืนทรัพย์สินเดียว กัน แต่ต้องส่งคืนทรัพย์สินในประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันแทน
(4) ยืมใช้คงรูป เมื่อผู้ยืมตาย สัญญายืมย่อมสิ้นสุดลง ……แต่ยืมใช้สิ้น เปลือง เมื่อผู้ยืมตาย สัญญายืมมิได้สิ้นสุดลง สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมตกทอดสู่ทายาท

****************