วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัญญาจ้างแรงงาน-สัญญาจ้างทำของ

สัญญาจ้างแรงงาน

สัญญาประเภทหนึ่งมีบุคคลสองฝ่าย คือนายจ้าง-ลูกจ้าง เป็นสัญญาต่างตอบแทน มุ่งที่การใช้แรงงาน นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาการทำงานของลูกจ้าง สินค้าจะเป็นเงิน

สัญญาจ้างทำของ

เป็นสัญญาที่มีบุคคลสองฝ่ายเช่นกันคือ ผู้รับจ้าง ตกลงรับว่าจะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกหนึ่งคนเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง เป็นสัญญาต่างตอบแทนเช่นกัน มุ่งที่ผลสำเร็จของงาน ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเพียงแต่ควบคุมเพื่อผลของงานเท่านั้น
สินจ้างจะเป็นเงินหรือสิ่งของหรือประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผู้ชายเป็น ''นาย"ตลอดกาล ผู้หญิงอย่างฉันก็ยังยืนยันจะเป็น "นางสาว"ตลอดไป

"นาย" "นาง" "นางสาว"?

ผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนคำนำหน้าใดๆๆ แต่ผู้หญิงทำไมต้องเปลี่ยนจาก นางสาว เป็นนาง ?

ความเสมอภาคและความยุติธรรมอยู่ไหน?

อดีต...นี่คงเป็นคำถามที่หลายๆคนค้างคาใจและหาคำตอบไม่ได้ การใช้คำนำหน้าชื่อก็เป็น
การทำให้ทราบถึงสถานะของบุคคลนั้นๆ


เป็นการบอกว่าโสดหรือแต่งงานแล้วอย่างที่รู้กันมา แต่การแต่งงานก็เกิดจากบุคคลสองคนเมื่อ
ฝ่ายหญิงแต่งงานก็เปลี่ยนจากคำว่า '"นางสาว" มาใช้คำว่านางเมื่อมีการจดทะเบียนสมรส แต่ผู้ชายล่ะ? ก็ยังคงเป็น"นาย"อยู่อย่างเดิม ไม่มีขอผูกมัดใดๆๆที่จะบ่งบอกได้ว่าผ่านการแต่งงานหรือจะทะเบียนสมรสมาแล้วกี่ครั้ง เพราะจะกี่ครั้งก็ยังเป็นนาย...ดูเหมือนวาจะไม่มีความยุติธรรมเลย ปัญหาที่ตามมาก็คือ"ก็หนูไม่รู้นี่ค่ะว่าเค้าแต่งงานมีครอบครัวแล้ว เพราะเค้าไม่ได้บอก" แล้วใครล่ะที่ผิด?


ปัจจุบัน...พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งจะทำให้หญิงซึ่งแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสแล้ว สามารถที่จะเลือกใช้ "นาง" หรือ "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจ และหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า "นาง" หรือ "นางสาว" ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว เป็นกฏหมายที่ครอบคลุมความต้องการของสาวๆยุคปัจจุบัน และบุคคลที่เปลี่ยนเป็นนางแล้วก็แห่กลับมาเปลี่ยนกันจำนวนมาก


นี่ก็เป็นความยุติธรรมอีกอย่างหนึ่งสำหรับความเป็นผู้หญิง อาจจะช้าไปหน่อยแต่ก็ไม่สายไปสำหรับการรอคอย