วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบ้านชิ้นที่2/เมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย


เมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย
------------------------------------------------------
ความประสงค์ของการเขียนบทความนี้ก็เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เช่าถึงแก่ความตาย นั้นควรจะมีความหมายอย่างไร อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้เช่า”ตกลงให้บุคคลหนึ่งเรียกว่า”ผู้เช่า”ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะได้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
ในกรณีที่ผู้เช่าถึงแก่ความตาย สัญญาเช่านั้นจะระงับหรือไม่ ไม่ใช่ดูว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษหรือไม่แต่ต้องดูว่าสัญญานั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวหรือมึ่งจะถูกต้องเช่น นายดำไปทำสัญญาเช่าตึกของโรงแรมลากูน่าเพื่อดำเนินการต่อไป 40 ล้านบาท และมีการจดทะเบียนเช่าถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ต่อมาได้ 3 ปีนายดำถึงแก่ความตาย ดังนั้นถ้าจะตีความว่าเป็นสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตายสัญญาเช่าระงับไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาทของผู้เช่าซึ่งลงทุนและลงแรงไปเป็นจำนวนมากก็ได้
สิทธิในการเช่าทรัพย์สินอาจมีราคาและถือเอาได้เช่น สิทธิที่จะเซ้งอาคารหรือที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งคนมีสิทธิในการเช่าให้แก่บุคคลภายนอก จึงเป็นทรัพย์สินตามความหมายของประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ เมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย สิทธิอันนี้จึงตกทอดไปยังทายาท เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่าสิทธิในการเช่าทรัพย์สิน เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ตายหรือไม่ ถ้าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ตายสัญญาเช่าในกรณีดังกล่าวก็เป็นอันระงับแต่โดยปกติ

1 ความคิดเห็น:

  1. เรื่องนี้มีประเด็นวิเคราะห์ การตัดย่อความบางครั้งจะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนนะคะ ดูหลักก่อนค่ะ ระหว่าง สัญญาเช่า(ธรรมดา)
    สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่า
    ทรัพยสิทธิ บุคคลสิทธิ และทรัพย์สิน

    ตอบลบ